Menu Close

การรักษา ด้วยการรับประทานยาได้ผลเพียงใด

การรักษาด้วยการรับประทานยาได้ผลเพียงใด? และมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง?

ยารับประทานที่ใช้ในการรักษาอาการใบหน้ากระตุกในโรคนี้ มีอยู่หลายชนิดด้วยกัน แต่ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ชนิด ได้แก่

  1. ยาคลอนาซีแปม (Clonazepam) อาการข้างเคียง/ผลข้างเคียงที่สำคัญของยา คือ ซึมและง่วงนอนโดยทั่วไปอาการนี้จะลดลงเมื่อรับประทานยาไปแล้วระยะหนึ่ง
  2. ยาคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) มีอาการข้างเคียงที่สำคัญ คือ อาการซึมหรือคล้ายคนเมาสุราที่มักเกิดในระยะแรกๆของการรับประทานยาซึ่งโดยทั่วไปอาการนี้จะลดลงเมื่อรับประทานยาไปแล้วระยะหนึ่ง อาการข้างเคียงอื่น คือ อาจทำให้เกิดเม็ดเลือดขาวต่ำได้ดังนั้น ผู้ป่วยที่ได้รับยานี้ควรต้องมาติดตามผลการใช้ยาตามที่แพทย์นัดเสมอ

ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาไปแล้วระยะเวลาหนึ่ง (2-3 เดือน) อาการกระตุกไม่ลดลง หรืออาการกระตุกมากขึ้น หรือผู้ป่วยทนต่ออาการข้างเคียงที่เกิดจากยาไม่ได้ แพทย์อาจต้องพิจารณาเปลี่ยนวิธีการรักษาไปเป็นการฉีดโบทูไลนุมทอกซินแทนซึ่งให้ผลในการรักษาอาการกระตุกได้ดีกว่า

การฉีดยาโบทูไลนุม ทอกซินเป็นอย่างไร? ควรฉีดเมื่อใด?

โบทูไลนุม ทอกซิน เป็นสารที่สกัดจากเชื้อแบคทีเรียคลอสตริเดียมโบทูไลนุม (Clostri dium botulinum) ออกฤทธิ์โดยทำให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลังลง มีผลทำให้การกระตุกลดลงหรือหายไปการฉีดยานี้จะทำการฉีดเข้าในบริเวณใบหน้าส่วนที่มีการกระตุก และยาจะสามารถออกฤทธิ์ได้ประมาณ 3-4 เดือน เมื่อยาหมดฤทธิ์กล้ามเนื้อใบหน้าส่วนนั้นก็จะกลับมากระตุกอีก ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมาฉีดยาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำ อนึ่งการฉีดยานี้จะกระทำเมื่อแพทย์ได้อธิบายถึงโรคและแนวทางในการรักษา รวมทั้งผลดีผลเสียในการรักษาแต่ละวิธีแก่ผู้ป่วยเรียบร้อยแล้ว และผู้ป่วยจะเป็นผู้ตัดสินใจเองว่าต้องการฉีดยาหรือไม่

Posted in โรคใบหน้ากระตุกครึ่งซีก

บทความที่เกี่ยวข้อง