ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อเป็น ฝีสมอง? ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร?
การดูแลตนเองที่บ้านเมื่อเป็นฝีสมอง ได้แก่
– ผู้ป่วยโรคฝีสมอง จำเป็นต้องรักษาควบคุมโรคประจำตัว/ปัจจัยเสี่ยง (ดังกล่าวในหัว ข้อปัจจัยเสี่ยง) ที่มีอยู่ให้ดี
– ถ้ามีอาการผิดปกติทางสมอง เช่น แขน ขาอ่อนแรง ควรทำกายภาพบำบัดตามแพทย์ นักกายภาพบำบัด พยาบาล แนะนำ สม่ำเสมอ ตลอดไป
– ถ้ามีอาการชัก ต้องทานยากันชักต่อเนื่องตามแพทย์แนะนำ ไม่ขาดยา
– ต้องรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เสมอ เพื่อให้มีสุขภาพแข็งแรง มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคที่ดี ช่วยลดโอกาสการเกิดฝีสมองเป็นซ้ำ
– ควรพบแพทย์ตามนัดเสมอ
– ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อ มีอาการผิดไปจากเดิม หรือเมื่ออาการต่าง ๆ เลวลง เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดศีรษะรุนแรงขึ้น แขนขากลับมาอ่อนแรงอีก หรืออ่อนแรงมากขึ้น หรือมีอาการชักบ่อยขึ้น ทั้งนี้รวมถึงเมื่อยังกังวลในอาการด้วย
ป้องกันฝีสมองได้อย่างไร?
ได้แก่
– ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ
– รักษาควบคุมโรคประจำตัวที่เป็นปัจจัยเสี่ยง (ดังกล่าวในหัวข้อปัจจัยเสี่ยง) ให้ดี
– รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้ม กันต้านทานโรคที่ดี ลดโอกาสติดเชื้อต่าง ๆ