ลมชัก (Epilepsy)
โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นโรคทางระบบประสาทที่พบบ่อยโรคหนึ่ง ความชุกประมาณ0.67% ของประชากรประมาณว่าคนไทยทั่วประเทศเป็นโรคลมชักประมาณ 450,000 คน ประ ชาชนโดยทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจต่อโรคลมชักไม่มากอาทิเช่น ทราบเพียงว่าโรคลมชักคือ โรคลมชักบ้าหมู หรือ “โรคลมบ้าหมู” เท่านั้น โรคลมชัก แตกต่างจากการชักจากสาเหตุต่าง ๆ คือ อาการชักจากโรคลมชัก ต้องมีอา การ ชัก เกร็ง กระตุก กัดลิ้น น้ำลายฟูมปาก ซึ่งทั้งนี้ จริง ๆ แล้ว โรคลมชักเองมีอาการชักได้หลายชนิดได้แก่
- การชักเกร็งกระตุกทั้งตัวและหมดสติ (โรคลมชักบ้าหมู)
- การชักชนิดนั่งนิ่ง เหม่อลอย
- การชักชนิดทำอะไรโดยไม่รู้สึกตัว
- การชักกระตุกเฉพาะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและรู้สึกตัวดี
- การชักชนิดล้มลงกับพื้นทันที
ลักษณะสำคัญของการชักในโรคลมชักทุกชนิดคือการที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติทางระบบประสาทดังกล่าวข้างต้นอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ 30 วินาที ถึง 3 นาที อาการนั้นหายได้เอง แต่อาการเหล่านั้นจะเกิดซ้ำ ๆ และอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นในแต่ละครั้งจะมีลักษณะคล้ายๆกัน
โรคลมชักเกิดได้อย่างไร? มีอะไรเป็นสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง?
โรคลมชักเกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าในสมองซึ่งมีหลายสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง เช่น
- อุบัติเหตุต่อสมอง
- โรคหลอดเลือดสมอง (โรคอัมพาต)
- โรคติดเชื้อในสมอง (สมองอักเสบ)
- โรคเนื้องอกสมอง
- โรคพยาธิตัวตืด เช่น ตืดหมู ตืดวัว
- การดื่มเหล้าปริมาณมากหรือการหยุดดื่มเหล้าทันทีในผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง
- โรคกลีบสมองบริเวณขมับฝ่อ
- ความผิดปกติทางพันธุกรรม อย่างไรก็ตามการถ่ายทอดทางพันธุกรรมมีโอกาสเกิดน้อยมาก
- อื่น ๆ ที่เพิ่มโอกาสเกิดอาการชัก เช่น
– ผู้ป่วยที่มีประวัติโรคไข้ชักในวัยเด็ก
– ได้รับอุบัติเหตุที่สมองอย่างรุนแรง
– ได้รับการผ่าตัดสมอง
การศึกษาเกี่ยวกับโรคลมชัก โดยกลุ่มวิจัยโรคลมชักแบบบูรณาการของมหาวิทยาลัย ขอนแก่น พบว่า
ผู้ป่วย 30% เคยประสบอุบัติเหตุขณะที่มีการชัก อุบัติเหตุที่พบบ่อยได้แก่ บาดแผลฟกช้ำ เนื้อเยื่อฉีกขาด อุบัติเหตุที่ศีรษะ ไฟไหม้น้ำร้อนลวก และกะโหลกศีรษะแตก โดยปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุ ได้แก่ การชักชนิดชักเกร็งกระตุกทั้งตัว การหมดสติ การชักแล้วล้ม และผู้ป่วยที่มีการชักบ่อยครั้ง
ผู้ป่วย 67% ยังขับรถเป็นประจำ และ 25% เกิดอุบัติเหตุจากการขับรถเนื่องจากมีอาการชักขณะขับรถ ซึ่งผู้ป่วยโรคลมชักที่อยู่ระหว่างการรักษาไม่ควรขับรถ เล่นกีฬาทางน้ำ หรือกีฬาที่ต้องมีการปะ ทะกัน รวมทั้งการนอนดึก และการทำงานกับเครื่องจักรกล ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ จะส่งผลต่อคุณ ภาพชีวิตของผู้ป่วย
ป้องกันโรคลมชักได้ไหม?
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคลมชัก แต่การหลีกเลี่ยงสาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง ที่ได้กล่าวแล้วในหัวข้อ สาเหตุ/ปัจจัยเสี่ยง ที่หลีกเลี่ยงได้ จะช่วยลดโอกาสเกิดโรคลมชักลงได้บ้าง เช่น การระมัดระวังอุบัติเหตุต่อสมอง การไม่ดื่มสุรา การรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อ และการป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
อนึ่ง ปัจจุบันยังไม่มียาที่ใช้ป้องกันการเกิดโรคลมชักได้ผลดี 100% และแพทย์ไม่นิยมที่จะให้ยาป้องกันการชัก แพทย์จะเริ่มให้ยารักษาอาการชักในโรคลมชักต่อเมื่อมีอาการชักเกิด ขึ้นแล้ว เพื่อป้องกัน/ลดโอกาสเกิดการชักซ้ำ