แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง อย่างไร?
แพทย์วินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองจากประวัติที่ผู้ป่วยมีอาการผิดปกติดังกล่าวข้างต้นในหัวข้อ อาการ ร่วมกับการตรวจร่างกายทั่วไป การตรวจร่างกายทางระบบประสาทการตรวจสืบค้นด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง และอาจมีการตรวจภาพหลอดเลือดสมอง เช่น เอมอาร์ไอภาพหลอดเลือดสมอง และ/หรือการฉีดสีโดยการสวนหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นการตรวจหลอดเลือดสมองทางรังสีร่วมรักษา
อนึ่ง กรณีต้องการตรวจว่าสมองของเรามีหลอดเลือดโป่งพองหรือไม่ สามารถทำได้แต่ไม่คุ้มค่า เพราะพบโรคได้น้อย แต่แพทย์อาจพิจารณาตรวจในกรณีมีประวัติคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง มีอาการหลอดเลือดสมองโป่งพองแตก หรือมีโรคที่ผิดปกติและถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่กล่าวข้างต้น ในหัวข้อ โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การรักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง คือ
- การผ่าตัดสมอง เพื่อปิดซ่อมผนังหลอดเลือดที่โป่งพอง หรือ ใช้คลิป (Surgical clipp ing) หนีบหลอดเลือดที่โป่งพองหรือการใส่ขดลวดเข้าไปปิดหลอดเลือดที่โป่งพอง (Endovas cular coiling) รวมทั้งการผ่าตัดเอาก้อนเลือดในเนื้อสมองออถ้ามีก้อนเลือดออกในเนื้อสมอง
- ให้ยาแก้ปวดศีรษะ
- ให้ยาต้านแคลเซียม (Calcium channel blockers) เพื่อลดการหดเกร็งของหลอดเลือด (Vasospasm) ของสมองที่เป็นผลข้างเคียงจากหลอดเลือดโป่งพอง ที่จะส่งผลให้เกิดภาวะสมองขาดเลือดตามมา
- ให้ยากันชัก
ภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงที่พบบ่อยจากโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง และอันตราย คือ
- ภาวะแตกซ้ำของหลอดเลือดโป่งพอง ที่จะก่อให้เกิดอันตรายสูงมาก อาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้
- หลอดเลือดสมองบริเวณข้างเคียงหลอดเลือดที่โป่งพอง หดเกร็ง (Vasospasm) ก่อ ให้เกิดภาวะสมองขาดเลือด
- ภาวะโพรงน้ำที่อยู่ในสมองโต (Hydrocephalus)
- ร่างกายเกิดภาวะเกลือโซเดียมต่ำ (Hyponatremia) อาการ เช่น อ่อนเพลีย สับสนคลื่นไส้ อาเจียน เป็นตะคริว
- อาการชัก
- อาการอัมพาต